จิตวิทยาสำหรับเด็ก: กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ คือความเพียร
Angela Lee Duckworth อาจารย์สอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กในนิวยอร์กได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความสำเร็จในการเรียนรู้
- 0:11
ตอนที่ดิฉันอายุ 27 ดิฉันลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาการบริหาร ซึ่งเป็นงานหนักมาก เพื่อไปทำงานที่ยากยิ่งกว่า คือการสอนหนังสือ ดิฉันสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเกรดเจ็ด ที่โรงเรียนเทศบาลเมืองนิวยอร์ค ซึ่งเหมือนครูคนอื่น ดิฉันสร้างแบบทดสอบและข้อสอบ ให้การบ้านและมอบหมายงาน เมื่อเด็กส่งงานมาก็ตรวจให้เกรด - 0:35
สิ่งที่ดิฉันแปลกใจคือ ไอคิว ไม่ใช่สิ่งเดียวที่แตกต่างกัน ระหว่างเด็กเรียนดีที่สุดและอ่อนที่สุดของดิฉัน เด็กที่ผลการเรียนดีที่สุดบางคน ไม่ได้มีคะแนนไอคิวสูงเทียมเมฆ แล้วเด็กที่ฉลาดที่สุดบางคนก็ไม่ได้มีผลการเรียนดีนัก - 0:53
นั่นทำให้ดิฉันได้ฉุกคิด สิ่งที่เด็กต้องเรียนในชั้นคณิตศาสตร์เกรดเจ็ดนั้น แน่นอน มันยาก อัตราส่วน ทศนิยม พื้นที่ของสี่เหลี่ยมด้านขนาน แต่ก็ไม่ถึงขนาดว่าจะเป็นไปไม่ได้ และดิฉันก็มั่นใจมากทีเดียวว่าเด็กของดิฉันทุกคน สามารถเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ ถ้าพวกเขาพยายามให้หนักและนานพอ - 1:15
การสอนนี้ผ่านไปหลายปี ดิฉันเริ่มได้ข้อสรุปว่า สิ่งที่เราต้องการในแวดวงการศึกษา คือความเข้าใจที่มากกว่านี้ ในตัวนักเรียนและระบบการเรียนรู้ ทั้งในแง่ของการสร้างแรงจูงใจ และในแง่ของจิตวิทยา ในด้านการศึกษา สิ่งหนึ่งเรารู้จักดีที่สุดในการวัด ก็คือไอคิว แต่ถ้าการจะไปได้สวยในโรงเรียนและในชีวิต กลับไปขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่ความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็วและง่ายล่ะคะ - 1:47
ดังนั้น ดิฉันจึงออกมาจากห้องเรียน เพื่อต่อปริญญาโทเป็นนักจิตวิทยา ดิฉันศึกษาเด็กๆ และผู้ใหญ่ ภายใต้โจทย์ที่สุดแสนท้าทายทุกประเภท และในทุกการศึกษาค้นคว้า ดิฉันจะมีคำถามคือ ใครประสบความสำเร็จและทำไม ดิฉันและทีมวิจัยไปที่วิทยาลัยทหารเวสท์พอยท์ เราพยายามที่จะพยากรณ์ว่านายร้อยคนใด จะยังอยู่ฝึกต่อและใครจะลาออก เราไปเยือนการแข่งขันสะกดคำแห่งชาติ พยายามพยากรณ์ว่าเด็กคนไหนจะไปได้ ไกลที่สุดในการแข่งขัน เราศึกษาคุณครูมือใหม่ ที่ต้องทำงานในละแวกที่ยากลำบาก ด้วยคำถามว่า ครูคนใดจะยังคงสอนอยู่ต่อไป เมื่อปีการศึกษาจบลง และในกลุ่มนั้น ใครจะมีประสิทธิภาพที่สุด ในการยกระดับผลการศึกษาของเด็กที่สอน เราร่วมมือกับบริษัทเอกชน ด้วยการถามว่า เซลส์คนใดจะยังรักษางานไว้ได้ และใครจะเป็นผู้ที่ทำรายได้สูงสุด จากบริบทที่แตกต่างกันทั้งหมดนี้ มีคุณสมบัติหนึ่งโดดเด่นขึ้นมา ที่จะช่วยพยากรณ์ความสำเร็จได้ชัดเจนมาก และมันไม่ใช่ความฉลาดในการเข้าสังคม ไม่ใช่รูปลักษณ์ที่ดูดี ไม่ความแข็งแรงของสุขภาพ และมันไม่ใช่ไอคิว แต่คือ ความเพียร - 3:00
ความเพียร แปลว่าฝักใฝ่ใคร่รัก ทุ่มเท และบากบั่นฟันฝ่า เพื่อเป้าหมายระยะยาว ความเพียร คือความทรหดอดทน ความเพียรคือการมุ่งมั่นไปข้างหน้า วันแล้ว วันเล่า ไม่เพียงแค่สัปดาห์ ไม่เพียงแค่เดือน แต่เป็นปี และทำมันอย่างหนัก เพื่อให้อนาคตที่ฝันกลายเป็นจริง ความเพียร คือการใช้ชีวิตแบบวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่งระยะสั้น
- 3:26
ไม่กี่ปีนี้เองที่ดิฉันเริ่มศึกษาความเพียร ในโรงเรียนเทศบาลชิคาโก ดิฉันขอให้เด็กจูเนียร์ไฮสคูลนับพันคน ทำแบบสอบถามความเพียร แล้วรอดูผลในอีกปีกว่าถัดมา เพื่อดูว่าใครจะเรียนจบ ผลคือเด็กที่มีความเพียรมากกว่า มีความเป็นไปได้อย่างชัดเจนยิ่งกว่า ที่จะเรียนจบ แม้ตอนที่ดิฉันเปรียบเทียบกับลักษณะอื่นที่สามารถวัดได้ เช่นรายได้ครอบครัว คะแนนทดสอบความสำเร็จที่เป็นมาตรฐาน แม้กระทั่งความรู้สึกของเด็กว่าปลอดภัยแค่ไหนเวลาไปโรงเรียน ฉะนั้นจึงไม่ใช่แค่ที่เวสท์พอยท์หรือการแข่งสะกดคำแห่งชาติ ที่ความเพียรเป็นปัจจัย โรงเรียนก็ด้วย โดยเฉพาะกับเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะลาออก สิ่งที่น่าตกใจที่สุดสำหรับดิฉันเกี่ยวกับความเพียร คือเรารู้จักมันน้อยมาก วิทยาศาสตร์รู้จักวิธีสร้างเสริมมันน้อยมาก ทุกๆ วันมีผู้ปกครองและครูมาถามดิฉัน “เราสร้างบ่มเพาะความเพียรในเด็กๆ ได้อย่างไร เราต้องสอนอะไรให้เด็กมีจรรยาบรรณในการทำงาน เราจะคงแรงจูงใจในระยะยาวให้เด็กๆ ได้อย่างไร” ตอบอย่างจริงใจนะคะ ดิฉันไม่ทราบ (หัวเราะ) แต่ที่รู้แน่ๆ คือ พรสวรรค์ ไม่ช่วยให้มีความเพียร ข้อมูลของเราแสดงไว้อย่างชัดเจน ว่ามีผู้มีพรสวรรค์มากมาย ที่ไม่ทำภาระผูกพันของตนให้บรรลุผล ที่จริงข้อมูลของเราชี้ว่า ความเพียรนั้นไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวข้องอย่างสวนทางกับพรสวรรค์ด้วยซ้ำไป - 4:51
จนวันนี้ ไอเดียดีที่สุดที่ดิฉันเคยได้ยิน เกี่ยวกับการสร้างเสริมความเพียร คือสิ่งที่เรียกว่า ความเชื่อในการเติบโต เป็นไอเดียที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดย แครอล ดเว็ก (Carol Dweck) ซึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า ความสามารถในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว และเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความพยายามของคุณเอง ดร.ดเว็กได้แสดงว่าเมื่อเด็กอ่านและเรียนรู้ เกี่ยวกับสมองและการเปลี่ยนแปลงและเติบโตของสมอง ในการตอบสนองกับสิ่งท้าทาย พวกเขามีความเป็นไปได้สูงที่จะบากบั่นต่อไปเมื่อพวกเขาล้มเหลว เพราะพวกเขา ไม่เชื่อว่า ความล้มเหลว เป็นสภาวะที่ถาวร
- 5:27
ดังนั้น ความเชื่อในการเติบโต เป็นไอเดียที่ยอดเยี่ยม ในการบ่มเพาะความเพียร แต่เราต้องการไอเดียมากกว่านี้ และดิฉันขอจบการพูดของตัวเองลงตรงนี้ เพราะนี่คือตำแหน่งที่เราอยู่ เป็นสิ่งที่ต้องเผชิญและทำต่อไปในเบื้องหน้า เราจำเป็นต้องนำไอเดียที่ดีที่สุด ความคิดริเริ่มที่ชัดเจนที่สุด แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาทดสอบ เราต้องวัดผลว่าเราทำสำเร็จแล้วหรือยัง เราต้องเปิดใจที่จะล้มเหลว ผิดพลาด เพื่อจะได้เริ่มใหม่ ด้วยบทเรียนที่เรียนรู้มา - 5:54
ในอีกนัยหนึ่ง เราเองต้องฝ่าฟันด้วยความเพียร ในการสร้างให้เด็ก ๆ ของเรามีความพากเพียรยิ่งขั้น - 6:01
ขอบคุณค่ะ - 6:02
เสียงปรบมือ
สรุป
สิ่งที่เราต้องการในแวดวงการศึกษา คือความเข้าใจในตัวนักเรียนและระบบการเรียนรู้ ทั้งในแง่ของการสร้างแรงจูงใจ และในแง่ของจิตวิทยา
คุณสมบัติหนึ่งโดดเด่นขึ้นมา ที่จะช่วยพยากรณ์ความสำเร็จได้ชัดเจนมาก ไม่ใช่ความฉลาดในการเข้าสังคม ไม่ใช่รูปลักษณ์ที่ดูดี ไม่ความแข็งแรงของสุขภาพ และมันไม่ใช่ไอคิว แต่คือ ความเพียร
ความเพียร แปลว่าฝักใฝ่ใคร่รัก ทุ่มเท และบากบั่นฟันฝ่า เพื่อเป้าหมายระยะยาว ความเพียร คือความทรหดอดทน ความเพียรคือการมุ่งมั่นไปข้างหน้า วันแล้ว วันเล่า ไม่เพียงแค่สัปดาห์ ไม่เพียงแค่เดือน แต่เป็นปี และทำมันอย่างหนัก เพื่อให้อนาคตที่ฝันกลายเป็นจริง ความเพียร คือการใช้ชีวิตแบบวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่งระยะสั้น
จนวันนี้ ไอเดียดีที่สุดที่ดิฉันเคยได้ยิน เกี่ยวกับการสร้างเสริมความเพียร คือสิ่งที่เรียกว่า ความเชื่อในการเติบโต เป็นไอเดียที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดย แครอล ดเว็ก (Carol Dweck) ซึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า ความสามารถในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว และเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความพยายามของคุณเอง
ดร.ดเว็กได้แสดงว่าเมื่อเด็กอ่านและเรียนรู้ เกี่ยวกับสมองและการเปลี่ยนแปลงและเติบโตของสมอง ในการตอบสนองกับสิ่งท้าทาย พวกเขามีความเป็นไปได้สูงที่จะบากบั่นต่อไปเมื่อพวกเขาล้มเหลว เพราะพวกเขา ไม่เชื่อว่า ความล้มเหลว เป็นสภาวะที่ถาวร
ดังนั้น ความเชื่อในการเติบโต เป็นไอเดียที่ยอดเยี่ยม ในการบ่มเพาะความเพียร
อีกหนึ่งบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเพียร
- ณ โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นแห่งห
นึ่ง มีป้ายติดไว้ว่า..
(1.01)^365 = 37.8 และ (0.99)^365 = 0.03
อาจจะงงเล็กน้อยว่า มันหมายความว่าอย่างไร??
เชื่อว่า..เมื่อท่านรู้ความหมายแล้วจะทึ่ง!!! - 1.01 หมายถึง ถ้าหากเราเพิ่มความขยันขึ้น
เพียงวันละเล็กน้อย คือมากกว่าแค่ 0.01 เราก็จะขยันขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้าย เราจะขยันขึ้นกว่าเดิม 37.8 เท่า ในเวลา 1 ปี !! - ในทางตรงข้าม ถ้าหากเราทำตัวแบบผลัดวันปร
ะกันพรุ่ง เหยาะแหยะ ลดความขยันลงเรื่อยๆ เช่น เอาน่า..วันนี้เหนื่อยแล้ว พักหน่อยนึง เมื่อวานก็อ่านเยอะแล้ว ให้รางวัลตัวเองหน่อยละกัน อ่านลดลงนิดนึงนะ ถ้าทำไปเรื่อยๆ แบบนี้ ในเวลาเพียงหนึ่งปี เราจะขยันลดน้อยลงกว่าเดิมถึง 33.3 เท่า !! - ดังนั้น จงอย่าดูถูกความขยัน แม้เพียงเล็กๆน้อยๆ ก็ตาม แล้วสุดท้าย เราก็จะได้เห็นผลลัพธ์อันยิ
่งใหญ่ของมันอย่างแน่นอน!! - เชื่อว่า..หลักคิดนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กั
บทุกเรื่อง..
คราวนี้คงรู้กันแล้วนะว่า... “คนญี่ปุ่น เขาสร้างชาติกันได้อย่างไร? ?
ที่มา goPaktor , Superposition
ted.com/talks/angela_lee_duckworth_grit_the_power_of_passion_and_perseverance?language=th
เรียบเรียงโดย: จิตตานันท์ ทองทับ