Don’t Pose, Direct by Ben Sasso
– หนึ่งในหน้าที่ของช่างภาพแนวไลฟ์สไตล์คือ สร้างความเป็นธรรมชาติให้ตัวแบบ
– เวลาคนดูภาพของคุณ เขาควรจะรู้สึกว่า ภาพนั้นคือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นเองอยู่แล้ว ตัวคุณแค่บังเอิญผ่านไปเห็นเข้าและถ่ายมาเท่านั้นเอง
– ถ้าคนดูภาพของคุณแล้วรู้สึกว่า นางแบบดูแข็งดูตั้งใจโพสมากเกินไป อันนั้นคือไม่เวิร์คละ
– เรามาลองดูโฆษณาของ Roxy เป็นตัวอย่าง นางแบบในภาพดูจะโคตรชิล เธอปั่นจักรยานวินเทจเก๋ๆไปตามทางลาดยาว และออกไปสนุกสนานกับเกรียวคลื่นท่าม กลางแดดยามเย็น ดูรูปพวกนี้แล้ว เราจะรู้สึกว่า พวกเธอช่างมีชีวิตสนุกสนาน เสียราวกับว่าโลกนี้ไม่มีอะไรให้กลุ้มใจ
– แต่ถ้าถามว่าในชีวิตจริงพวกเธอเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า? ก็ไม่นะ พวกเธอก็เป็นปุถุชนคนหนึ่งที่มีค่าเช่าบ้านต้องจ่าย มีจานชามที่ต้องล้างเหมือนเราๆนั้นแหละ เพียงแต่ว่าระหว่างถ่ายโฆษณานั้น พวกเธอถูกกำกับให้อยู่ในบทบาทของมนุษย์โลกชิลพวกนั้นอยู่
– หน้าที่ของช่างอย่างเราๆคือสร้างเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ด้วยการกำกับอารมณ์ของพวกเธอ
– ส่วนตัวแล้วผมจะชอบให้โมเดลของผม ‘แสดงบทบาท’ มากกว่า ‘โพสท่า’
– แทนที่จะสั่งโพสท่าแข็งๆ ผมมักจะบอกให้พวกเเธอเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ปรับเปลี่ยนและทดลองท่าใหม่ๆไปเรื่อยๆ โดยก่อนการถ่ายทำ ผมจะกล่าวกับพวกเเธอเลยว่า ขยับตัวไปมาได้เต็มที่เลยนะ อยากทำท่าอะไรก็ตามใจเลย ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่สวย เพราะยังไง คนเราก็ไม่สามารถจะดูสวยทุกองศาทุกการ เคลื่อนไหวได้อยู่แล้ว แต่ถ้าคุณยิ่งขยับตัวมาก เราก็ยิ่งจะมีโอกาสภาพดีๆมากขึ้น
– ตอนที่คุณทำงานกับนางแบบนายแบบทั้งหลาย ให้คิดว่าคุณเป็นผู้กำกับหนัง ไม่ใช่ช่างภาพ อย่าบอกเธอว่า “ยืนตรงนี้นะ เงยหน้าเล็กน้อย สายตามองทางซ้ายมือของกล้อง” แต่อธิบายให้พวกเธอฟังว่า ตัวละครของเธอเป็นยังไง และก็แค่ปล่อยให้พวกเธอค่อยๆสวมบทบาทเป็นคาร์แรคเตอร์นั้นๆ ยกตัวอย่างว่า ถ้าผมไปถ่ายโฆษณาให้กับ Roxy ผมจะบอกเธอว่า เธอเป็นผู้หญิงชิลๆ รักการโต้คลื่น เธอไม่มีปัญหาเรื่องเงินทอง การบ้าน ดาวน์รถหรือใดๆให้ปวดกบาลทั้งสิ้น นาทีนั้น เธอแค่อยากออกไปรื่นรมณ์รับแสงแดดช่วงฤดูร้อน
– การกำกับเธอแบบนี้จะช่วยให้เธอมีอิสระในการกำหนดท่าทางของตัวเองมากกว่า กลับกัน ถ้าคุณไปยืนสั่งๆอยู่ฝ่ายเดียว เธอจะไม่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เลย
– ที่ผมพูดๆมาทั้งหมดนี่ก็อย่าเข้าใจผมผิดนะ การสั่งให้นางแบบโพสท่าที่เราต้องการ เป๊ะๆบ้าง บางครั้งบางคราวก็ช่วยให้คุณได้ภาพที่ดีได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าอย่าสั่งโพสติดต่อ กันนานๆเท่านั้นแหละ
– นอกจากสร้างตัวละครให้นางแบบของคุณแล้ว คุณก็ควรจะสร้างฉากเหตุการณ์ให้กับพวกเธอด้วย พอเธอรู้ตัวละครของตัวเองแล้ว อธิบายให้เธอฟังต่อว่าเธออยู่ในเหตุการณ์แบบไหน เช่นว่า ถ้าผมไปถ่ายฉากชายหาด ผมจะนางแบบว่า ตัวละครของเธอนั้นกำลังมาเที่ยวทะเลกับแฟนคนใหม่ของเธอ ชายหนุ่มคนนี้บ้ากล้องมากและพยายามจะตามถ่ายรูปเธอตลอดเวลา แต่ตัวเธอก็พยายามปัดป้อง ประมาณว่า ไม่เอา ไม่อยากโดนถ่าย แต่ขณะเดียวกันก็มีอ่อยท่าและหยอกล้อกับกล้องบางจังหวะ
– การกำกับนางแบบด้วยการสร้างซีนจากเหตุการณ์จริงแบบนี้ ภาพที่ได้จะดูเป็นธรรมชาติและสามารถเชื่อมโยงกับอารมณ์คนดูได้มากกว่าการสั่งโพส เพราะการโพสท่านั้นไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ปกติเขาทำกันในชีวิตประจำวัน
– การร่วมงานกับนางแบบอาชีพอาจดูว่าง่าย เพราะเราคงคิดว่าพวกเธอคงโปรกันอยู่แล้ว แต่ความจริงคือ นางแบบนายแบบก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน พวกเขามีความรู้สึกเขินอายและประหม่าหน้ากล้องไม่ต่างจากพวกเรานั่นแหละ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณเห็นพวกเธอดูเกร็งๆเครียดๆ คุณต้องรีบกำจัดบรรยากาศนั้นออกไปทันที คุณต้องแสดงให้พวกเธอเห็นว่า เฮ้ย ฉันไม่เห็นจะต้องอายเลย
– เรื่องแบบนี้เกิดบ่อยครั้ง โดยเฉพาะตอนผมทำงานกับนางแบบหน้าใหม่ทั้งหลาย ถ้าผมเริ่มเห็นว่าพวกเธอดูกั๊กๆเกร็งๆเมื่อไร วิธีแก้คือ ผมจะเดินเข้าไปสาธิตท่าทางให้พวกเธอดู โดยผมจะทำท่าให้มันใหญ่ๆเวอร์ๆอุบาทๆเข้าไว้ เธอจะได้หัวเราะและบรรยากาศก็ผ่อนคลาย ส่วนใหญ่เวลาผมเข้าไปสาธิตท่าทางตลกๆพวกนั้น นางแบบก็กล้าแสดงออกมากขึ้น เพราะอุ่นใจแล้วว่า ยังไง กูไม่มีทางท่าทุเรศอีตานี่แน่ๆ
– เมื่อนางแบบคลายความกังวลลง และคุณกลับมาถ่ายต่อ อย่าลืมเอ่ยปากชมพวกเธอมากๆ เธอจะได้มีกำลังใจและมั่นใจในท่าทางของเธอ
– ขอสรุปอีกครั้ง การถ่ายภาพที่ดูเป็นธรรมชาติ อาจฟังเหมือนยาก แต่จริงๆมันง่ายกว่าที่คิด จำไว้ว่า อย่าเอาแต่สั่งโพสลูกเดียว ให้กำกับด้วยการบรีฟตัวละครและเหตุการณ์ จากนั้นก็เชื่อมั่นในตัวแบบของคุณ พร้อมกับกล่าวให้กำลังใจเธอเยอะๆเท่านั้นเอง
– แถม- หนึ่งในไม้ตายผมอันนึงในการถ่ายทำคือ บอกให้นางแบบลองหัวเราะ ขณะที่ออกเสียงสระ (เอ อี ไอ โอ ยู) ดังๆ วิธีการนี้จะทำให้เราได้รอยยิ้มและท่าแฮปปี้ที่หลากลายมากขึ้น
ที่มา: www.facebook.com/BenzThanachart
bensasso.com/blog/shoot-tips-dont-pose-direct