เส้นทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Economic Corridors)

เส้นทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Economic Corridors)

1. เส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือใต้ (North-South Economic Corridor-NSEC)

ประกอบด้วยเส้นทาง 3 เส้นหลัก ได้แก่
1.1 แนวระเบียงย่อยด้านตะวันตก (Western Subcorridor) หรือ R3 เป็นเส้นทางจากคุนหมิง-ผ่านลาวหรือพม่า-เชียงราย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 1,800 กิโลเมตรแยกเป็น

  • เส้นทาง R3A: ไทย-ลาว-จีน (อ.เชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น/บ่อหาน-เชียงรุ้ง-คุนหมิง)
  • เส้นทาง R3B: ไทย-พม่า-จีน (อ.แม่สาย-ท่าขี้เหล็กของพม่า-เชียงตุง-พรมแดนพม่า-ต้าลั๊วของจีน รวมกับเส้นทาง R3A ที่เมืองเชียงรุ้ง และไปยังคุนหมิง

1.2 แนวระเบียงย่อยด้านตะวันออก (Eastern Subcorridor) ได้แก่ หนานหนิง-ฮานอย ผ่านเส้นทาง โหย่วอี (Youyi – PRC) หรือเส้นทางฝ่างเฉิงก่าง (Fangchenggang-PRC)-ตงซิง (Dong xing-PRC)-มงไค (Mong Cai-VN)

1.3 แนวระเบียงย่อยกลาง (Central Subcorridor) ได้แก่ คุนหมิง-ฮานอย-ฮฟอง (Hai Phong-VN) ซึ่งเชื่อมต่อกับไฮเวย์หมายเลข 1 ซึ่งเป็นเส้นทางจากภาคเหนือไปภาคใต้ของเวียดนาม

เส้นทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Economic Corridors), ASEAN, AEC

 

2. แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor– EWEC) 

หรือเส้นทางหมายเลข 9- R9ระยะทาง 1,320 กิโลเมตร เชื่อมโยงทะเลจีนใต้กับมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอันดามัน) เริ่มต้นจากท่าเรือดานัง (Da Nang Port–VN) ผ่านลาว-ไทย-ไปท่าเรือเมาะละแหม่งหรือเมาะลำไย (Mawlamyine Port-Myanmar) ตัดกับ NSEC ที่จังหวัดตากและพิษณุโลก

3. แนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ ( Southern Economic Corridor -SEC)

เชื่อมโยงไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ประกอบด้วย 3 เส้นทางย่อย (Subcorridor) และ 1 เส้นทาง Intercorridor ได้แก่

3.1 Northern Subcorridor ระยะทาง 1,150 กิโลเมตร เริ่มต้นจาก กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ (ไทย)-ปอยเปต-เสียมเรียบ (เสียมราฐ)-สตึงเตร็ง (Stung Treng)-รัตนคีรี (Rattanakiri)-Ou Ya dav (กัมพูชา)-PleiKu-Quy Nhon (เวียดนาม) เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับโลก และ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จากกรุงเทพฯ สู่ นครวัด และเขาพระวิหารในกัมพูชา ผ่านตอนกลางของเวียดนามสู่พื้นที่ชายฝั่งเวียดนาม

3.2 Central Subcorridor ระยะทาง 1,005 กิโลเมตร เริ่มต้นจาก กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ (ไทย)-ปอยเปต-พนมเปญ-บาเวต (กัมพูชา)- นครโฮจิมินห์-วุ่งเต่า (Vung Tau-เวียดนาม) เชื่อมโยงเมืองสำคัญทางการค้าซึ่งมีประชากรหนาแน่นนของทั้ง 3 ประเทศ

3.3 Southern Coastal Subcorridor ระยะทาง 970 กิโลเมตร เริ่มต้นจาก กรุงเทพฯ-ตราด (ไทย)-เกาะกง-กำปอต (Kampot –กัมพูชา) – ฮาเตียน (Ha Tien)-Ca Mau-Nam Can (เวียดนาม) เชื่อมโยงพื้นที่ Eastern Seaboard ของไทยกับชายฝั่งของกัมพูชาและเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเล ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม (R10)

3.4 Intercorridor Link เริ่มจาก สีหนุวิลล์-พนมเปญ-กราตี-สตึงเตร็ง (Stung Treng)-ดังกาลอ (ตระเปียง ครีล)-ปากเซ-สะหวันนะเขต เส้นนี้ เป็นถนนสายหลักที่เชื่อม 3 Subcorridor เข้ากับแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) นอกจากเส้นทางถนนแล้ว EC ยังครอบคลุมถึงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมอื่นด้วยได้แก่ ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ อาทิกรณี SEC: การพัฒนาเส้นทางรถไฟ (สายปอยเปต-พนมเปญ/สายพนมเปญ-นครโฮจิมินห์/สายพนมเปญ-สีหนุวิลล์) การพัฒนาการคมนาคมขนส่งทางน้ำ (เช่น ท่าเรือพนมเปญ -ท่าเรือสีหนุวิลล์ / ท่าเรือ Thi Vai -Vung Tau)

ที่มา
www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions
www.tradelogistics.go.th

เรียบเรียง learningstudio.info